ตัวบ่งชี้ที่ 2 ระบบและกลไกการเงินและงบประมาณ

ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้
          หน่วยงานจะต้องมีระบบในการจัดหาและจัดสรรเงินอย่างมีประสิทธิภาพ จะต้องมีแผนกลยุทธ์ทางด้านการเงินซึ่งเป็นแผนจัดหาเงินทุนที่สามารถผลักดันแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานให้สามารถดำเนินการได้ มีการวิเคราะห์รายได้ ค่าใช้จ่ายของการดำเนินงาน ทั้งจากงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้อื่นๆ ที่หน่วยงานได้รับ มีการจัดสรรงบประมาณและการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบครบทุกพันธกิจ มีระบบการตรวจสอบการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ รายงานทางการเงินต้องแสดงรายละเอียดการใช้จ่ายในทุกภารกิจ โครงการ กิจกรรมเพื่อให้สามารถวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงของหน่วยงานได้

นิยามศัพท์
          แผนกลยุทธ์ทางการเงิน เป็นแผนระยะยาวที่ระบุที่มาและใช้ไปของทรัพยากรทางการเงินของหน่วยงาน ที่สามารถผลักดันแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานให้สามารถดำเนินการได้ แผนกลยุทธ์ทางการเงินจะสอดรับไปกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน หน่วยงานควรประเมินความต้องการทรัพยากรที่ต้องจัดหาสำหรับการดำเนินงานตาม กลยุทธ์แต่ละกลยุทธ์ และประเมินมูลค่าของทรัพยากรออกมาเป็นเงินทุนที่ต้องการใช้ ซึ่งจะเป็นความต้องการเงินทุนในระยะยาวเท่ากับเวลาที่หน่วยงานใช้ในการดำเนินการให้กลยุทธ์นั้นบังเกิดผล จากนั้นจึงจะกำหนดให้เห็นอย่างชัดเจนถึงที่มาของเงินทุนที่ต้องการใช้ว่าสามารถจัดหาได้จากแหล่งเงินทุนใด เช่น รายได้จากการจัดสรรงบประมาณทั้งเงินบำรุงการศึกษาและงบประมาณแผ่นดิน รวมทั้งมีการวิเคราะห์ต้นทุนของการดำเนินงานด้วย โดยที่ระยะเวลาของแผนกลยุทธ์ทางการเงินจะเท่ากับระยะเวลาของแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน

รอบระยะเวลา รอบปีงบประมาณ (1 ต.ค. 2558 – 30 ก.ย. 2559)

เกณฑ์มาตรฐาน
          1. มีแผนกลยุทธ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
          2. มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
          3. มีงบประมาณประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการในแต่ละภารกิจและการพัฒนาหน่วยงาน และบุคลากร
          4. มีการจัดทารายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ และรายงานต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
          5. มีการนำข้อมูลทางการเงินไปใช้ในการวิเคราะห์ค่าใช้จ่าย และวิเคราะห์สถานะทางการเงินและความมั่นคงของหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง
          6. มีคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit committee) ภายในและภายนอก ทำหน้าที่ตรวจ ติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกาหนด
          7. ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้เงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจ

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 หรือ 3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4 หรือ 5 ข้อ
มีการดำเนินการ
6 ข้อ
มีการดำเนินการ
7 ข้อ


ผลการดำเนินงาน

          1. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีแผนกลยุทธ์การเงิน ประจำปีงบประมาณ 2559 (2.1 - 1(1)) ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ และแผนกลยุทธ์ทางการเงิน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2557-2560) (2.1 - 1(2)) ที่ผ่านการเห็นชอบคณะกรรมการประจำสำนักฯ (2.1 - 1(3)) และคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2559 (วาระ 5.1) (2.1 - 1(4))


          2. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน โดยการจัดทำคำของบประมาณ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 (2.1 - 2(1)) โดยยึดหลักตามแผนกลยุทธ์ซึ่งมีหลักเกณฑ์การจัดสรร (2.1 - 2(2)) และการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ (2.1 - 2(3)) โดยสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้รับจากการจัดสรรงบประมาณเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินรายได้ หรือเงินนอกงบประมาณของมหาวิทยาลัย ยังไม่มีแนวทางในการจัดหารายได้ด้วยตนเอง เนื่องจากเป็นหน่วยสนับสนุน การเงินที่ใช้ในการดำเนินงานมี 2 แหล่ง คือ (1) เงินงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจะได้รับการจัดสรรงบประมาณตามนโยบาย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และ (2) เงินรายได้ (เงินบำรุงการศึกษา) ได้จากค่าลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา โดยกองนโยบายและแผนได้ดำเนินการรวบรวมคำของบประมาณฯ เป็นของมหาวิทยาลัย เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2558 วาระที่ 5.12 (2.1 - 2(4)) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบคำขออนุมัติงบประมาณเงินบำรุงการศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 และเสนอต่อ สภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาอนุมัติ และ มหาวิทยาลัยได้วางแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินและเงินรายได้ โดยสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการจะต้องดำเนินการเบิกจ่าย ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้เป็นรายไตรมาส

          3. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีงบประมาณประจำปีที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการในแต่ละพันธกิจ และการพัฒนามหาวิทยาลัยและบุคลากร โดยมีการจัดสรรงบประมาณให้แต่ละหน่วยงานตามแผนปฏิบัติการของแต่ละฝ่าย ที่ได้รับการอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 9/2558 วาระที่ 5.11 (2.1 - 3(1)) ซึ่งสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้จัดทำแผนปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 (2.1 - 3(2)) แบ่งเป็นงบประมาณแผ่นดิน 5,920,300 บาท งบบำรุงการศึกษา 2,131,700 บาท และงบ กศ.บป. 1,268,000 บาท โดยแยกตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้ดังนี้
                    ยุทธศาสตร์ที่ 1. พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นการผลิตและพัฒนาบัณฑิตที่มีคุณภาพในสาขาวิชาที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และประเทศและพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการสู่สากล จำนวน 6 โครงการ จำนวนเงิน 1,232,000 บาท คิดเป็น 13.22%
                    ยุทธศาสตร์ที่ 2. พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งการวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นและประเทศ จำนวน 6 โครงการ จำนวนเงิน 2,118,000 บาท คิดเป็น 22.73%
                    ยุทธศาสตร์ที่ 3. พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งบริการวิชาการและวิชาชีพ ที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ จำนวน 6 โครงการ จำนวนเงิน 132,300 บาท คิดเป็น 1.42%
                    ยุทธศาสตร์ที่ 4. พัฒนามหาวิทยาลัยให้เป็นแหล่งการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อมโยงองค์ความรู้สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 23 โครงการ จำนวนเงิน 1,078,000 บาท คิดเป็น 11.57%
                    ยุทธศาสตร์ที่ 5. สืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 2 โครงการ จำนวนเงิน 100,000 บาท คิดเป็น 1.07%
                    ยุทธศาสตร์ที่ 6. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงาน และการพัฒนาความรู้ เสริมสร้างทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของประชาคมมหาวิทยาลัย จำนวน โครงการ 8 จำนวนเงิน 3,001,000 บาท คิดเป็น 32.20%
                    ยุทธศาสตร์ที่ 7. พัฒนาและส่งเสริมศักยภาพบุคลากรให้มีสมรรถนะและขีดความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ จำนวน 1 โครงการ จำนวนเงิน 34,000 บาท คิดเป็น 0.36%
                    ยุทธศาสตร์ที่ 9. พัฒนาระบบการบริหารจัดการมหาวิทยาลัยให้เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง มุ่งเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพ และคุณภาพภายใต้หลักธรรมาภิบาล จำนวน 9 โครงการ จำนวนเงิน 1,624,700 บาท คิดเป็น 17.43%

          4. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง โดยมีการจัดทำรายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ประกอบด้วยยอดเบิกจ่ายสะสม ร้อยละการเบิกจ่าย แผนการเบิกจ่าย และผลการเบิกจ่าย เป็นรายไตรมาส เพื่อเสนอที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย รายงานการใช้จ่ายงบประมาณฯ ไตรมาสที่ 1 (2.1 - 4(1)) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 1/2559 วันพุธที่ 27 มกราคม 2559 วาระที่ 4.7 (2.1 - 4(2)) รายงานการใช้จ่ายงบประมาณฯ ไตรมาสที่ 2 (2.1 - 4(3)) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 4/2559 วันพุธที่ 27 เมษายน 2559 วาระที่ 4.7 (2.1 - 4(4)) รายงานการใช้จ่ายงบประมาณฯ ไตรมาสที่ 3 (2.1 - 4(5)) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2559 วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2559 วาระที่ 4.9 (2.1 - 4(6))

          5. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการรายงานผลการใช้เงินให้กับคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เป็นประจำทุกไตรมาส ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า ณ วันที่รายงานข้อมูลมีงบประมาณคงเหลือสำหรับการบริหารจัดการงานด้านต่าง ๆ เท่าไร และวิเคราะห์สถานะทางการเงินของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ในภาพรวมต่อคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการต่อไป (2.1-4(1)) - 2.1-4(6)) และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์การเงิน 2.1 - 5(1)) ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559 (2.1 - 5(2))

          6. มหาวิทยาลัย มีหน่วยงานตรวจสอบภายในและภายนอก ทำหน้าที่ตรวจติดตามการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ (2.1 - 6(1)) มีการจัดทำปฏิทินการตรวจสอบภายใน สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (2.1 - 6(2)) จัดทำแผนการตรวจสอบประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เพื่อดำเนินการตรวจสอบการใช้เงินให้เป็นไปตามระเบียบและกฎเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด มีการกำหนดกฎบัตรในการตรวจสอบ ซึ่งเป็นเกณฑ์/หัวข้อ/ในการตรวจสอบภายใน ฝ่ายตรวจสอบภายในมีการรายงานผลการตรวจสอบภายใน สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (2.1 - 6(3)) ให้กับผู้บริหารทราบ

          7. ผู้บริหารระดับสูงมีการติดตามผลการใช้เงินให้เป็นไปตามเป้าหมาย และนำข้อมูลจากรายงานทางการเงินไปใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจ โดยการมอบหมายให้กองนโยบายและแผนเร่งรัดการเบิกจ่าย งบประมาณแผ่นดิน ให้แล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคม 2559 และงบประมาณบำรุงการศึกษา (บ.กศ.) ให้ดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2559 หากเกินระยะเวลาที่กำหนดจะให้คืนงบประมาณส่วนที่เหลือเพื่อที่จะให้มหาวิทยาลัยจัดสรรค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของทางมหาวิทยาลัยต่อไป (2.1 - 7(1))

หลักฐานการประเมิน
2.1 - 1(1) แผนกลยุทธ์การเงิน ประจำปีงบประมาณ 2559
2.1 - 1(2) แผนกลยุทธ์การเงิน ระยะ 4 ปี (พ.ศ. 2557-2560)
2.1 - 1(3) มติที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2559
2.1 - 1(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 2/2559 (วาระที่ 5.1)
2.1 - 2(1) คำของบประมาณ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559
2.1 - 2(2) แผนกลยุทธ์การเงิน ประจำปีงบประมาณ 2559 หน้า 28
2.1 - 2(3) แผนกลยุทธ์การเงิน ประจำปีงบประมาณ 2559 หน้า 29
2.1 - 2(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2558 วาระที่ 5.12
2.1 - 3(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 9/2558 วาระที่ 5.11
2.1 - 3(2) แผนปฏิบัติการ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559
2.1 - 4(1) รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ไตรมาส 1
2.1 - 4(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 1/2559 วาระที่ 4.7
2.1 - 4(3) รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ไตรมาส 2
2.1 - 4(4) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 4/2559 วาระที่ 4.7
2.1 - 4(5) รายงานการใช้จ่ายงบประมาณ ไตรมาส 3
2.1 - 4(6) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ครั้งที่ 7/2559 วาระที่ 4.9
2.1 - 5(1) รายงานผลการดำเนินงานตามแผลกลยุทธ์การเงิน ประจำปีงบประมาณ 2559
2.1 - 5(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559
2.1 - 6(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบภายใน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
2.1 - 6(2) ปฏิทินการตรวจสอบภายใน สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
2.1 - 6(3) รายงานผลการตรวจสอบภายใน สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
2.1 - 7(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 7/2559 วาระที่ 4.9 หน้าที่ 11