ตัวบ่งชี้ที่ 5 ระบบบริหารความเสี่ยง

ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้
          เพื่อให้หน่วยงานมีระบบบริหารความเสี่ยง โดยการบริหารและควบคุมปัจจัย กิจกรรม และกระบวนการดำเนินงานที่อาจเป็นมูลเหตุของความเสียหาย (ทั้งในรูปของตัวเงิน หรือไม่ใช่ตัวเงิน เช่น ชื่อเสียง และการฟ้องร้องจากการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับประสิทธิภาพ ประสิทธิผล หรือความคุ้มค่า) เพื่อให้ระดับความเสี่ยง และขนาดของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอยู่ในระดับที่ยอมรับและควบคุมได้ โดยคำนึงถึงการเรียนรู้วิธีการป้องกันจากการคาดการณ์ปัญหาล่วงหน้าและโอกาสในการเกิด เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความรุนแรงของปัญหา รวมทั้งการมีแผนสำรองต่อภาวะฉุกเฉิน เพื่อให้มั่นใจว่าระบบงานต่างๆ มีความพร้อมใช้งาน มีการปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อการบรรลุเป้าหมายของหน่วยงาน ตามยุทธศาสตร์หรือกลยุทธ์เป็นสำคัญ

เกณฑ์มาตรฐาน
          1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงานบริหารความเสี่ยง โดยมีผู้บริหารระดับสูง และตัวแทนที่รับผิดชอบภารกิจหลักของหน่วยงานร่วมเป็นคณะกรรมการหรือคณะทำงาน
          2. มีการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยง และปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงอย่างน้อย 3 ด้าน ตามบริบทของหน่วยงาน จากตัวอย่างต่อไปนี้
                    - ความเสี่ยงด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่)
                    - ความเสี่ยงด้านยุทธศาสตร์ หรือกลยุทธ์ของหน่วยงาน
                    - ความเสี่ยงด้านนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
                    - ความเสี่ยงด้านการปฏิบัติงาน เช่น ความเสี่ยงของกระบวนการบริหารงาน การให้บริการ การบริหารงานวิจัย ระบบงาน ระบบประกันคุณภาพ
                    - ความเสี่ยงด้านบุคลากรและความเสี่ยงด้านธรรมาภิบาล โดยเฉพาะจรรยาบรรณของบุคลากร
                    - ความเสี่ยงจากเหตุการณ์ภายนอก
          3. มีการประเมินโอกาสและผลกระทบของความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์ในข้อ 2
          4. มีการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูง และดำเนินการตามแผน
          5. มีการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน เพื่อพิจารณาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
          6. มีการนำผลการประเมิน และข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการประจำหน่วยงาน ไปใช้ในการปรับแผนหรือวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป

หมายเหตุ
          คะแนนการประเมินจะเท่ากับ 0 หากพบว่าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้นในสถาบันในรอบปีการประเมิน ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร หรือต่อชื่อเสียงภาพลักษณ์ หรือต่อควานมั่นคงทางการเงินของสถาบัน อันเนื่องมาจากความบกพร่องของสถาบันในการควบคุม หรือจัดการความเสี่ยง หรือปัจจัยเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอโดยมีหลักฐานประกอบที่ชัดเจน
                    ตัวอย่างความเสี่ยงร้ายแรงที่มีผลประเมินเป็นศูนย์ (0) คะแนน เช่น
                    1. มีการเสียชีวิตและถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจอย่างรุนแรงของนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรภายในสถาบัน ทั้งๆ ที่อยู่ในวิสัยที่สถาบันสามารถป้องกันหรือลดผลกระทบในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ แต่ไม่พบแผนการจัดการความเสี่ยงหรือไม่พบความพยายามของสถาบันในการระงับเหตุการณ์ดังกล่าว
                    2. สถาบันหรือหน่วยงานเสื่อมเสียชื่อเสียงหรือมีภาพลักษณ์ที่ไม่ดี อันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น คณาจารย์ นักวิจัยหรือบุคลากรขาดจริยธรรม จรรยาบรรณการไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานหรือกฎกระทรวง และเกิดเป็นข่าวปรากฏให้เห็นตามสื่อต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ ข่าว Online เป็นต้น
                    3. สถาบันหรือหน่วยงานขาดสภาพคล่องในด้านการเงินจนทำให้ต้องปิดหลักสูตรหรือไม่ สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้ส่งผลกระทบต่อนักศึกษาปัจจุบันที่เรียนอยู่อย่างรุนแรง

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4 ข้อ
มีการดำเนินการ
5 ข้อ

          **หากมีคณะใดคณะหนึ่งได้คะแนนการประเมินเป็นศูนย์ (0) แล้ว สถาบันก็จะได้คะแนนการประเมินเป็นศูนย์ (0)ด้วยเช่นกัน หากเป็นไปตามเงื่อนไขที่กล่าวไว้ข้างต้นการไม่เข้าข่ายที่ทำให้ผลการประเมินได้คะแนนเป็นศูนย์ (0) ได้แก่
          1. สถาบันมีการวิเคราะห์และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเชิงป้องกัน หรือมีแผนรองรับเพื่อลดผลกระทบสำหรับความเสี่ยงที่ทำให้เกิดเรื่องร้ายแรงดังกล่าวไว้ล่วงหน้า และดำเนินการตามแผน
          2. เป็นเหตุสุดวิสัย อยู่นอกเหนือการบริหารจัดการ (การควบคุมหรือการป้องกัน) ของสถาบัน

ผลการดำเนินงาน

          1. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ตาม คำสั่งสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ที่ 012/2559 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2559 (5.1 - 1(1) โดยมีผู้บริหารระดับสูง คือ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นประธาน มีรองผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ เป็นรองประธานกรรมการ มีหัวหน้ากลุ่มงาน และมีตัวแทนของแต่ละกลุ่มงาน เพื่อทำหน้าที่ในการจัดวางนโยบาย ระบุความเสี่ยง ประเมินความเสี่ยง จัดทำแผนบริหารความเสี่ยงสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559 (5.1 - 1(2)) เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2559 วาระที่ 5.1 หน้า 13-14 (5.1 - 1(3)) และจัดให้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผน และรายงานผลการดำเนินงานต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไว้ในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และเสนอเพื่อพิจารณาเห็นชอบ จากที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2559 (5.1 - 1(4))


          2. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้มีการวิเคราะห์ ระบุความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง โอกาส และผลกระทบที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการดำเนินงาน ของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ โดยการจัดทำ แผนบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2559
(หน้า 32 - 34) (5.1 - 2(1)) แบบตารางประเมินความเสี่ยง และมีการวิเคราะห์พร้อมระบุความเสี่ยงและปัจจัยเสี่ยง
             ในปีการศึกษา 2558 สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้พิจารณาความเสี่ยงโดยมองถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่มีโอกาสเกิดขึ้น และส่งผลกระทบต่อสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการด้านคุณภาพการศึกษา รวมถึงความสูญเสียทางด้านทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย และระบุเป็นความเสี่ยงของสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการไว้ 3 ด้าน ดังนี้
                    1. ด้านทรัพยากร (การเงิน งบประมาณ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อาคารสถานที่
                    2. ด้านการปฏิบัติงาน และ
                    3. ด้านบุคลากรและด้านธรรมาภิบาล


          3. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้มีการกำหนดระดับความเสี่ยงที่สะท้อนถึงความเสี่ยง สูงมาก สูง ปานกลาง และต่ำ ไว้ใน แผนบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2559
(หน้า 35 - 37) (5.1 - 3(1)) และได้ประเมินระดับความเสี่ยงในแต่ละปัจจัยเสี่ยง ปีงบประมาณ 2559 พบว่า มีจำนวนปัจจัยเสี่ยงที่มี ระดับความเสี่ยงสูงมากจำนวน 5 ปัจจัย ระดับความเสี่ยงสูงจำนวน 2 ปัจจัย ปัจจัยเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงจำนวน 1 ปัจจัย และปัจจัยเสี่ยงที่มีระดับปานกลาง 2 ปัจจัย ดังนี้

ลำดับความเสี่ยง
ระดับความเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยง
1
สูงมาก
จำนวนบุคลากร
2
สูงมาก
ระบบบริหารจัดการสารสนเทศยังไม่มี
3
สูง
บุคลากรยังทำงานด้านประกันคุณภาพไม่ถูกต้อง
4
ปานกลาง
งบประมาณ
5
ปานกลาง
ความรู้ความสามารถของบุคลากรด้านการวิจัยมีไม่เพียงพอ

 


          4. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ หลังจากได้ทำการวิเคราะห์ ระบุปัจจัยเสี่ยง ประเมินโอกาส ผลกระทบ และได้ระดับความเสี่ยงในแต่ละปัจจัยตามแบบตารางประเมินความเสี่ยงแล้วได้นำข้อมูลดังกล่าวมาจัดทำ แผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2559 (หน้า 41) (5.1 - 2(1)) โดยกำหนดวิธีการในการแก้ไข ลด และป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นพร้อมทั้งกำหนดผู้รับผิดชอบไว้อย่างชัดเจน และเสนอแผนบริหารความเสี่ยงต่อ ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2559 วาระที่ 5.1 (5.1 - 4(1)) เพื่อพิจารณา ก่อนจัดส่งแผนบริหารความเสี่ยงดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงในแต่ละด้าน เพื่อดำเนินการตามแผนที่สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้วางไว้
          สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้กำหนดมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงโดยใช้เทคนิค 4 T คือ 1)การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง 2)การแบ่งปันความเสี่ยง 3)การลดความเสี่ยง และ 4)การยอมรับความเสี่ยง ไว้ในคู่มือการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง : ระบบควบคุมภายใน และได้กำหนดวิธีการบริหารความเสี่ยงไว้ในแบบตารางประเมินความเสี่ยง ประจำปีการศึกษา 2558


          5. เมื่อมีการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยงไปแล้ว สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้มีการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามแผนจากหน่วยงานที่สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการมอบหมายให้เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดการกับปัจจัยเสี่ยงในแต่ละด้าน และรายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารความเสี่ยง (5.1 - 5(1))
ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559 วาระที่ 4.10 (5.1 - 5(2)) และนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะไปใช้ในการปรับแผนและวิเคราะห์ความเสี่ยงในรอบปีถัดไป ในคราวที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2559 (5.1 - 5(3))

          6. นำเสนอผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559 เสนอต่อคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2559 (5.1-6(2)) (หน้าที่ 7 ) และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มาดำเนินการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2560 ดังนี้

ประเด็น
การดำเนินการ
แผนบริหารความเสี่ยง
ปีงบประมาณ 2560
ความเสี่ยงที่คงเหลือจาก ปีงบประมาณ 2559
จำนวนบุคลากรในหน่วยงานมีไม่เพียงพอ
นำมาวิเคราะห์และกำหนด ประเด็นความเสี่ยง ในปี 2560 ความเสี่ยง
จำนวนบุคลากรในหน่วยงาน มีไม่เพียงพอ
การให้บริการ/การทดแทนงาน
ข้อเสนอแนะจาก
คณะกรรมการบริหารสำนัก

ควรมีการจัดอบรมพัฒนาบุคลากร ให้เกิดการเรียนรู้ สามารถปฏิบัติงานทดแทนกันได้ และมีการจัดหาระบบสารสนเทศสนับสนุน การปฏิบัติงานให้มีความรวดเร็ว ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ สามารถปฏิบัติงานทุกหน้าที่ ทุกคน
นำมาปรับกิจกรรม เพื่อลดความเสี่ยง ในการไม่บรรลุ กิจกรรมลดความเสี่ยง
จัดอบรมให้ความรู้ และพัฒนาระบบสารสนเทศ ด้านการให้บริการ ทั้งแก่นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร และประชาชนทั่วไป


หลักฐานการประเมิน
5.1 - 1(1) คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง และการควบคุมภายใน
5.1 - 1(2) แผนบริหารความเสี่ยงสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีงบประมาณ 2559
5.1 - 1(3) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2559 วาระที่ 5.1 หน้า 13-14

5.1 - 1(4) มติที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2559
5.1 - 2(1) แผนบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2559
(หน้า 32 - 34)
5.1 - 3(1) แผนบริหารความเสี่ยงประจำปีงบประมาณ 2559
(หน้า 35 - 37)
5.1 - 4(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2559 วาระที่ 5.1
5.1 - 5(1) รายงานผลการดำเนินงานการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559

5.1 - 5(2) รายงานการประชุม คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559 วาระที่ 4.10
5.1 - 5(3) รายงานการประชุม คณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2559
5.1 - 6(1) รายงานการประชุม คณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2559