ตัวบ่งชี้ที่ 6 การพัฒนาสำนักสู่สถาบันเรียนรู้

ชนิดของตัวบ่งชี้ กระบวนการ

คำอธิบายตัวบ่งชี้
          มาตรฐานการอุดมศึกษาข้อที่ 3 กำหนดให้หน่วยงานมีการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้และสังคมแห่งการเรียนรู้ ซึ่งต้องมีการจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่หน่วยงานแห่งการเรียนรู้ โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในหน่วยงานซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้หน่วยงานมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด กระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงาน ประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การรวบรวม การจัดเก็บความรู้ การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน การสร้างบรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในหน่วยงาน การกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น

นิยามศัพท์
          แนวปฏิบัติที่ดี หมายถึง วิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติที่ทำให้องค์การประสบความสำเร็จ หรือสู่ความเป็นเลิศตามเป้าหมาย เป็นที่ยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพนั้นๆ มีหลักฐานของความสำเร็จปรากฏชัดเจน โดยมีการสรุปวิธีปฏิบัติ หรือขั้นตอนการปฏิบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ บันทึกเป็นเอกสาร เผยแพร่ให้หน่วยงานภายในหรือภายนอกสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้

เกณฑ์มาตรฐาน
          1. มีการกำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของสำนัก
          2. กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1
          3. มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด
          4. มีการรวบรวมความรู้ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 ทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบโดยเผยแพร่ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge)
          5. มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (explicit knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (tacit knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง

เกณฑ์การประเมิน

คะแนน 1
คะแนน 2
คะแนน 3
คะแนน 4
คะแนน 5
มีการดำเนินการ
1 ข้อ
มีการดำเนินการ
2 ข้อ
มีการดำเนินการ
3 ข้อ
มีการดำเนินการ
4 ข้อ
มีการดำเนินการ
5 ข้อ


ผลการดำเนินงาน

          1. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ มีการจัดการความรู้ที่อยู่ภายใต้การบริหารและดำเนินงาน ตามคำสั่งคณะกรรมการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2558 (6.1-1(1)) โดยผ่านการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2559 (6.1-1(2)) เพื่อกำหนดประเด็นกระบวนการจัดการความรู้และเป้าหมายของการจัดการความรู้ (6.1-1(3)) ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (6.1-1(4)) และได้นำแผนเข้าที่ประชุมคณะกรรมการมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2559 วาระที่ 5.1(6.1 - 1(5)) เพื่อพิจารณาแผนการจัดการความรู้ (KM) ประจำปี 2559 และมติที่ประชุมคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2559 พิจารณาเห็นชอบ

          2. สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้กำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานโดยผ่านคณะกรรมการจัดการความรู้ (6.1-1(1)) ตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ1 (6.1-1(3)) โดยใช้ผลจากการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 1/2559 (6.1-2(1)) ในประเด็นความสนใจในการพัฒนาความรู้ 1 ด้าน ดังปรากฏในแผนการจัดการความรู้ (6.1-1(3))

          3. ได้มีการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีตามประเด็นความรู้ที่กำหนดในข้อ 1 และเผยแพร่ไปสู่บุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด โดยสำนักสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการได้ จัดตั้งกลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อรับผิดชอบการพัฒนาระบบฐานข้อมูล ด้านการให้บริการแก่นักศึกษา (6.1-3(1)) ซึ่งการจัดตั้งกลุ่มดังกล่าว จะเป็นในลักษณะการพบปะพูดคุย สังเคราะห์ความรู้ นำสิ่งที่ได้จากการประชุมในแต่ละครั้งทำหน้าที่ถอดชุดความรู้ที่ได้จากการ ประชุมออกมาเป็นข้อมูลความต้องการของระบบสารสนเทศที่ต้องการพัฒนาเพื่อให้บริการแก่นักศึกษา และเผยแพร่ระหว่างกันทุกครั้ง ซึ่งทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างตัวบุคลากรภายในกลุ่มตลอดเวลา (6.1 - 3(2)) , (6.1 - 3(3)) , (6.1 - 3(4)) , (6.1 - 3(5))

          4. ได้มีการรวบรวมความรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรงและกลุ่มเป้าหมายตามประเด็นความรู้ แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ความรู้ โดยผ่านคณะกรรมการจัดการความรู้ที่ได้รับการแต่งตั้ง ตามคำสั่งคณะกรรมการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ประจำปีการศึกษา 2558(6.1-1(1)) ซึ่งการรวบรวมนั้นรวบรวมทั้งที่มีอยู่ในตัวบุคคลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดี แล้วนำมาพัฒนาและจัดเก็บอย่างเป็นระบบ (6.1-4(1)) พร้อมมีการเผยแพร่ไปยังหน่วยงานต่างๆ (6.1-4(2))

          5. ได้มีการนำความรู้ที่ได้จากการจัดการความรู้ในปีการศึกษาปัจจุบันหรือปีการศึกษาที่ผ่านมาที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Explicit Knowledge) และจากความรู้ ทักษะของผู้มีประสบการณ์ตรง (Tacit Knowledge) ที่เป็นแนวปฏิบัติที่ดีมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง โดยบุคลากรที่ผู้เข้าร่วมการจัดการความรู้ได้นำความรู้ที่ได้มาใช้งานและ ปฏิบัติจริง นอกจากนั้นยังได้มีการเผยแพร่ออกสู่วงกว้างด้วยการส่งเผยแพร่ไปยังสถานศึกษาอื่นๆ จนได้มีการนำเอกสารนั้นไปใช้งานจริง และปรากฏถึงการนำไปใช้งานอย่างชัดเจน มีผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบสารสนเทศด้านการบริการนักศึกษา (6.1-5(1)) และจัดทำรายงานผลการดำเนินการจัดการความรู้ (6.1 - 5(2)) เข้าเพื่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559 วาระที่ 4.10 (6.1 - 5(3)) และมีการนำผลการดำเนินงานตามแผนการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2558 เข้าทบทวนเพื่อปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2559 ในคราวประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2559 (6.1 - 5(4)) โดยได้ข้อเสนอแนะ ว่าการดำเนินการแผนการจัดการความรู้ ปี 2558 เป็นการดำเนินการด้านการให้บริการนักศึกษา ทำให้มีการแยกตามภาระกิจของสำนักทำให้การดำเนินการทำได้ยาก สำหรับปี 2559 นี้ ควรมีการเลือกหัวข้อเพียงหัวข้อเดียวและควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน และคณะกรรมการติดตาม เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามแผน และมีการรายงานผลการดำเนินงาน 1 - 2 ครั้ง ต่อคณะกรรมการบริหารสำนักด้วย

หลักฐานการประเมิน

6.1 - 1(1) แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
6.1 - 1(2) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2559
6.1 - 1(3) แผนการจัดการความรู้ สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ
6.1 - 1(4) แผนกลยุทธ์สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ปรับปรุง ประจำปี 2558
6.1 - 1(5) รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย ครั้งที่ 2/2559 วาระที่ 5.1
6.1 - 1(6) มติประชุมคณะกรรมการประจำสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 1/2559
6.1 - 2(1) รายงานการประชุมคณะกรรมการจัดการความรู้ ครั้งที่ 1/2559
6.1 - 3(1) คำสั่งแต่งตั้งกลุ่มพัฒนาระบบสารสนเทศด้านการให้บริการแก่นักศึกษา
6.1 - 3(2) รายงานผลการประชุมกลุ่มงานการจัดการความรู้ (ถอดบทเรียน)
6.1 - 3(3) รายงานการประชุมกลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 12/2558
6.1 - 3(4) รายงานการประชุมกลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 13/2559
6.1 - 3(5) รายงานการประชุมกลุ่มงานวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 12/2559
6.1 - 4(1) ระบบสารสนเทศด้านการให้บริการแก่นักศึกษา
                    http://web62.sskru.ac.th/graduate/home.html
                    http://202.29.57.205/opac/main/index.aspx
                    https://sites.google.com/a/sskru.ac.th/gapps/home
6.1 - 4(2) ประมวลภาพการเผยแพร่ระบบสารสนเทศด้านการให้บริการนักศึกษา
6.1 - 5(1) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบสารสนเทศด้านการบริการนักศึกษา
6.1 - 5(2) รายงานผลการดำเนินการการจัดการความรู้ (KM) ประจำปีการศึกษา 2558
6.1 - 5(3) รายงานการประชุม คณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 9/2559
6.1 - 5(4) รายงานการประชุม คณะกรรมการบริหาร สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ครั้งที่ 2/2559