การดำเนินงานภายใต้ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
1. การวางแผน (Plan) ประชุมหารือบุคลากรร่วมกันศึกษาถึงลักษณะองค์ประกอบของระบบวางแผนโครงการ (Project Planning System) ที่จะนำมาสนับสนุนการทำงานเพื่อนำไปเป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบและพัฒนาระบบข้อมูล
2. การปฏิบัติ (Do) วิเคราะห์และออกแบบระบบโดยดำเนินการสร้างระบบงานตามรูปแบบ กำกับการดำเนินงานตามขั้นตอนของโครงการ การให้ความรู้ผู้ปฏิบัติงานในด้านงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง และวิธีการดำเนินงานที่โปร่งใส
3. การตรวจสอบ (Check) ประชุมติดตามผลการดำเนินงานเป็นระยะ รายไตรมาส หรือวาระพิเศษเร่งด่วน ประเมินกระบวนการทำงาน จัดการความรู้ให้กับกลุ่มผู้ดำเนินงานรายยุทธศาสตร์
4. การปรับปรุง (Action) หลังจากพิจารณาผลการดำเนินงานรายโครงการ และผลลัพธ์ที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการ หากมีปัญหาหรือผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด จะเกิดกระบวนการทบทวนเพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงาน
การกำหนดพื้นที่เป้าหมาย มหาวิทยาลัยฯ ได้กำหนดพื้นที่ในการพัฒนาท้องถิ่นเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มพื้นที่จากความต้องการแก้ปัญหาของท้องถิ่น และกลุ่มพื้นที่จากบริบทของชุมชนและโครงการ
1. กลุ่มพื้นที่จากความต้องการแก้ปัญหาของท้องถิ่น
โครงการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประเทศในท้องถิ่น
ส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษ โดย สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด ได้ร่วมหารือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษเลือกพื้นที่เป้าหมายเพื่อดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นตามพระราโชบาย ซึ่ง สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด โดยกลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชนได้พิจารณาใช้ข้อมูล กชช . 2ค ที่ทำการสำรวจปี พ .ศ. 2560 เป็นข้อมูลในการเลือกพื้นที่เป้าหมาย
2. กลุ่มพื้นที่จากพื้นที่จากบริบทของชุมชนและโครงการ
ส่วนราชการจังหวัดศรีสะเกษ โดย สำนักงานจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด กลุ่มผู้ผลิตสินค้า OTOP และชุมชนตามบริบท เช่น ชุมชนผู้ประสบปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนริมน้ำ ชุมชนตามวัฒนธรรม ประเพณี

แนวทางการบูรณาการระหว่างการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้คณะวิชาต่าง ๆ  นำความรู้และประสบการณ์ในการบริการวิชาการสู่สังคมมาสอดแทรกเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาในด้านการประยุกต์ใช้ทฤษฎีนำลงสู่การปฏิบัติ โดยมหาวิทยาลัยได้ตั้งเป้าหมายในการให้บริการทางวิชาการและวิชาชีพแก่หน่วยงานทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย สนับสนุนและส่งเสริมการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม การถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม  ทั้งในรูปแบบประโยชน์สาธารณะ และรูปแบบการเสริมสร้างรายได้  แสวงหาแหล่งทุนและเครือข่ายความร่วมมือในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม
สำหรับโครงการที่มีรูปแบบเพื่อประโยชน์สาธารณะ  มีการพัฒนาองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยไปบูรณาการกับพันธกิจด้านอื่น ๆ พัฒนารูปแบบและเนื้อหาที่หลากหลายในการให้บริการวิชาการ พัฒนางานบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ตามความต้องการของชุมชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคณาจารย์และนักศึกษาสามารถเลือกใช้พื้นที่เป้าหมายที่มหาวิทยาลัยใช้ออกให้บริการวิชาการเป็นพื้นที่ในการทำวิจัยตามรายวิชาที่เกี่ยวข้อง  ทั้งนี้นับเป็นการส่งเสริมให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ เกิดประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สามารถนำมาใช้ประกอบในการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับความเป็นจริงในปัจจุบัน โดยเน้นการปลูกฝังจริยธรรมการมองเห็นคุณค่าในการเรียน  การปรับพฤติกรรมผู้เรียนและการตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อตนเองผู้อื่นและสังคม

 

วิเคราะห์สภาพโดยทั่วไปการให้บริการวิชาการ (SWOT Analysis)

วิเคราะห์ปัจจัยภายใน
    จุดแข็ง
1.บุคลากรมีความเชี่ยวชาญการให้บริการสนับสนุนวิชาการและงานทะเบียน2.มีความพร้อมด้านสถานที่และอุปกรณ์ในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพ 
3.มหาวิทยาลัยมีการแบ่งโครงสร้างใหม่ทำให้การบริหารเป็นไปตามพันธกิจ
4. มีเครือข่ายความร่วมมือทางด้านการบริการวิชาการกับชุมชน
5.  มีการส่งเสริม สนับสนุน การให้บริการวิชาการแก่ชุมชนอย่างเต็มที่
6.บุคลากรมีความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานเป็นทีม และภาคภูมิใจในองค์กร
S5O5 พัฒนาหลักสูตรบริการวิชาการอย่างต่อเนื่องยังยื่น
S4O1 ดำเนินการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านบริการวิชาการและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
S2O2 สำนักส่งเสริมฯ ดำเนินการพัฒนางานด้านบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคมอย่างต่อเนื่อง
S1T3 อบรมพัฒนาศักยภาพบุคคลากรด้านการใช้เทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
S3T1 จัดโครงการในรูปแบบของคลังหน่วยกิตหลักสูตรระยะสั้น
S5T2 มีการส่งเสริม สนับสนุน การให้บริการแก่ชุมชนในรูปแบบออนไลน์ๆ
    จุดอ่อน
1.สำนักงานขาดระบบและกลไกการจัดสรรภาระงานที่ดีให้แก่บุคลากร
2.บุคลากรยังขาดทักษะในใช้เทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน
3.ขาดบุคลากรที่มีความสามารถในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
4.การผลิตผลงานวิจัยของสายสนับสนุนยังมีน้อย
W1O4 จัดอบรมพัฒนาบุคคลากรด้านระบบและกลไกในการปฏิบัติหน้าที่
W2O2 ขอบุคคลากรด้านเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน
W4O5 ส่งเสริมบุคคลากรสายสนับสนุนผลิตผลงานวิจัย R2R หรือคู่มือทำงาน
วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก
โอกาส
1.  ชุมชนมีความต้องการให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งให้บริการวิชาการ วิชาชีพและทักษะด้านอื่นๆ  
2.รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนในการดําเนินงานด้านการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม
3.  เกิดความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งและเกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 
4.นโยบายการกระจายอำนาจของผู้บริหารทำให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินงาน
5.สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากโครงการยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  
อุปสรรค
1.นโยบายเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการจัดทําคําขอของสํานักฯ
2. เกิดโรคระบาด (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงาน
3.ความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีทำให้ต้องเร่งทำงานให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง
4.ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการดำเนินงานและการพัฒนาการให้บริการสูงมากขึ้น
W1T1จัดอบรมพัฒนาบุคคลากรด้านระบบและกลไกในการปฏิบัติหน้าที่
W2T3 ขอบุคคลากรด้านเทคโนโลยีในการปฏิบัติงาน
W4T1 ส่งเสริมบุคคลากรสายสนับสนุนผลิตผลงานวิจัย R2R หรือคู่มือทำงาน

ผลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม

 

 

         

ยุทธศาสตร์สำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ (ทบทวน ปี 2566)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 สนับสนุนการผลิตบัณฑิตให้สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย

เป้าประสงค์
บัณฑิตมีอัตลักษณ์และคุณลักษณ์ที่พึงประสงค์ มีมาตรฐานทางวิชาการและวิชาชีพ สอดคล้องกับความต้องการของสังคมและผู้ใช้บัณฑิต
กลยุทธ์
1. พัฒนาระบบการรับสมัครนักศึกษาให้มีความหลากหลายและทันสมัย
2. พัฒนาระบบประชาสัมพันธ์ และการแนะแนวการศึกษาเชิงรุก
3. บริหารจัดการหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
4. สนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ
5. ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น
6. ส่งเสริมให้ทุกหลักสูตรพัฒนาระบบบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนโดยร่วมมือกับผู้ใช้บัณฑิต
ตัวชี้วัด
ค่าเป้าหมาย
2566
2567
2568
2569
2570
1. ร้อยละของนักศึกษาแรกเข้าตามแผนการรับสมัครของมหาวิทยาลัย
70
70
70
70
70
2. จำนวนโรงเรียนที่มีความร่วมมือด้านวิชาการ
10
12
14
16
18
3. จำนวนช่องทางประชาสัมพันธ์ แนะแนวการศึกษาต่อเชิงรุก
5
6
7
9
10
4. ร้อยละของรายวิชาหมวดศึกษาทั่วไปที่มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การจัดการเรียนการสอนต่อรายวิชาที่เปิดสอน
25
25
25
25
25
5. ร้อยละของนักศึกษาสำเร็จการศึกษาภายในระยะเวลาที่กำหนด
70
72
75
78
80
6. ร้อยละของหลักสูตรที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรต่อหลักสูตรทั้งหมด
100
100
100
100
100
7. ร้อยละของหลักสูตรที่จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการทำงาน
80
80
80
80
80


แผนงาน
1. การจัดทำแผนการรับสมัครนักศึกษาเชิงรุกโดยมีระบบและกลไกการให้บริการของหน่วยงาน
ไปสู่การปฏิบัติการติดตามตรวจสอบและประเมินผลการดําเนินงานโดยจะมีการรายงานต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงานเพื่อปรับปรุงระบบและกลไกในการดําเนินงานในภาคการศึกษาต่อไปและเพิ่มประสิทธิภาพ
การรับสมัครผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-Service) และสนับสนุนโอกาสทางการศึกษา
ให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ตามภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย
2. แผนการประชาสัมพันธ์แนะนำหลักสูตรการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยรวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการการแนะแนวผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-Service) อีกทั้งสร้างเครือข่ายครูแนะแนว และพัฒนาศักยภาพครูแนะแนวในการบูรณาการเรียนการสอน ร่วมกับมหาวิทยาลัยในการสร้างช่องทาง กระบวนการการรับสมัครนักศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ
3. แผนดำเนินการบริหารจัดการหลักสูตร ให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตราฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2565 โดยสนับสนุนหลักสูตรให้ได้รับความเห็นชอบจากสภาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัย จนสามารถได้รับการรับรองหลักสูตร จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และวิชาชีพ
4. แผนการดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
และการร่วมหาแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัย

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2 สนับสนุนการบริการวิชาการและน้อมนำแนวพระราชดำริเพื่อตอบสนองความต้องการพัฒนาของท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

เป้าประสงค์
มีระบบและกลไกการบริหารจัดการการให้บริการวิชาการที่มีประสิทธิภาพ
กลยุทธ์
1. สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการบริการวิชาการร่วมกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก
2. บูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อพัฒนาองค์ความรู้หรือนวัตกรรมในการนำไปบริการวิชาการเพื่อพัฒนาสังคมตามบริบทและความต้องการของท้องถิ่น
3. พัฒนาระบบการบริหารจัดการงานบริการวิชาการ ที่ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชนและน้อมนำแนวพระราชดำริเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ตัวชี้วัด
ค่าเป้าหมาย
2566
2567
2568
2569
2570
1. จำนวนหน่วยงานภายในและภายนอกที่มีความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน
2
4
6
8
10
2. จำนวนองค์ความรู้จากการบริการวิชาการที่นำไปพัฒนาท้องถิ่น
1
1
1
1
1
3. จำนวนระบบฐานข้อมูลการบริการวิชาการ
1
1
1
1
1

 

แผนงาน
1 .แผนกลยุทธ์การบริการวิชาการ ระยะ 5 ปี และแผนปฏิบัติการด้านการบริการวิชาการ 1 ปี
2. แผนเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ
3. มีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการงานบริการวิชาการโดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงาน ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบบริการการศึกษาด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม

เป้าประสงค์
มีระบบและเทคโนโลยีเพื่อรองรับการให้บริการส่วนงานต่าง ๆ ที่ทันสมัย รวดเร็ว ครบถ้วนและถูกต้อง
กลยุทธ์
1. พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูล
2. พัฒนาแฟลตฟอร์มทางดิจิทัลเพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ

ตัวชี้วัด
ค่าเป้าหมาย
2566
2567
2568
2569
2570
1. จำนวนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูล
1
1
1
1
1
2. ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ
4.25
4.25
4.30
4.35
4.00
แผนงาน
1. แผนการการดำเนินการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและฐานข้อมูล ในการจัดเก็บและนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตร นักศึกษา และข้อมูลการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัย มีการรายงานข้อมูลหลักสูตร ข้อมูลนักศึกษา และข้อมูลการเรียนการสอน เพื่อการบริหารและการตัดสินใจ ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดําเนินงาน ปรับปรุงระบบและกลไกในการดําเนินงาน ในปีการศึกษาต่อไป
2. การพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้านวิชาการและงานทะเบียน มีระบบและกลไกการให้บริการของหน่วยงาน ไปสู่การปฏิบัติ มีการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดําเนินงาน รายงานต่อคณะกรรมการประจำหน่วยงาน เพื่อปรับปรุงระบบและกลไกในการดําเนินงานในภาคการศึกษาต่อไป โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงาน ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
3. มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน หรือระบบงานในสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ให้มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ

เป้าประสงค์
การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
กลยุทธ์
1. ส่งเสริมการบริหารงานภายใต้ระบบธรรมาภิบาล
2. ส่งเสริมการบริหารงานตามระบบประกันคุณภาพการศึกษา
3. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน
4. พัฒนาบุคลากรให้มีจิตบริการ

ตัวชี้วัด
ค่าเป้าหมาย
2566
2567
2568
2569
2570
1. ผลประเมินหลักธรรมมาภิบาลในการบริหารงาน
5
5
5
5
5
2. ร้อยละของตัวชี้วัดที่สำเร็จตามแผน
80
80
85
85
90
3. ร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณสำนัก
80
80
85
85
90
4. ร้อยละการเบิกจ่ายงบประมาณแผ่นดิน
98
98
98
98
98
5. ผลประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับสำนัก
4.25
4.25
4.30
4.35
4.40
6. ผลประเมินการบริหารความเสี่ยง
5
5
5
5
5
7. ผลประเมินการจัดการความรู้
5
5
5
5
5
8. ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาด้านการปฏิบัติงานหรือเทคโนโลยี
80
80
85
85
90
9. ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการแต่งตั้งเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการและวิชาชีพตามกรอบที่อนุมัติ
50
60
70
80
90
10. ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาให้มีจิตบริการ
80
80
80
80
80
11. ผลประเมินการพัฒนาคุณภาพการให้บริการด้านวิชาการและงานทะเบียน
5
5
5
5
5

 

แผนงาน
1.การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทางการเงินหรือจัดสรรงบประมาณของหน่วยงานที่มีการวิเคราะห์แนวทางจัดหาหรือได้มาซึ่งทรัพยากรทางด้านการเงิน หลักเกณฑ์การจัดสรร และการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงที่ได้จากการวิเคราะห์และระบุความเสี่ยงและปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงจากภายในและภายนอกหน่วยงาน
2. การติดตามผลการดำเนินงานของทุกแผนยุทธศาสตร์ตามตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงาน
3. การประเมินผลการดำเนินงานของทุกแผนยุทธศาสตร์ตามตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย เพื่อวัดความสำเร็จของการดำเนินงาน
4. มีกระบวนการลดขั้นตอนการให้บริการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน หรือพัฒนาระบบงานในสำนักส่งเสริมและบริการวิชาการ ให้มีความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง